การแบ่งเขตการปกครอง ของ ตำบลบ้านสวน (อำเภอเมืองสุโขทัย)

บ้านสวนมีสถานะเป็นชุมชนและหน่วยการปกครองมาแต่ต้น ดังปรากฏหลักฐานเมื่อ พ.ศ. 2455 (รศ.130) เป็น ประกาศ บอกล่วงน่าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ใน (1) ทุ่งบ้านสวนเหนือ ตำบลบ้านสวนเหนือ อำเภอในเมือง (2) ในทุ่งบ้านสวนใต้ ตำบลบ้านสวนใต้ อำเภอในเมือง (3) ในทุ่งบ้านทุ่งหลวง ตำบลบ้านทุ่งหลวง อำเภอในเมือง (4) ในทุ่งบ้านท่าดินแดง ตำบลท่าดินแดง อำเภอในเมือง แขวงเมืองศุโขทัย เล่มที่ ๒๘ ตอน ๐ง ประกาศเมื่อ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2454 หน้า 2182 ปรากฏหน่วยการปกครองในเขตบ้านสวนว่า ประกาศกำหนดวันจะแจกสำหรับโฉนดที่ดิน 1.ในทุ่งบ้านสวนเหนือ ตำบลบ้านสวนเหนือ อำเภอในเมือง 2.ในทุ่งบ้านสวนใต้ ตำบลบ้านสวนใต้ อำเภอในเมือง 3.ในทุ่งบ้านทุ่งหลวง ตำบลบ้านทุ่งหลวง อำเภอในเมือง ๔.ในทุ่งบ้านท่าดินแดง ตำบลท่าดินแดง อำเภอในเมือง แขวงเมือง ศุโขไทย [18] ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2454) บ้านสวนจึงเป็นหน่วยการปกครองในระดับตำบลขึ้นกับแขวงศุโขไทย จังหวัดศุโขไทย ที่เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพิษณุโลก โดยแยกการปกครองเป็น "ตำบลบ้านสวนเหนือ" และ "ตำบลบ้านสวนใต้" และเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมือง จังหวัดศุโขไทย (สะกดตามราชกิจจานุเบกษาปี พ.ศ. 2460)[19] เดิมชื่อว่า อำเภอเมือง ซึ่งในปี พ.ศ. 2460 ในสมัยรัชกาลที่ 6 อำเภอนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอธานี[19] จนเมื่อสมัยรัชกาลที่ 7 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 ได้ยุบอำเภอธานีและเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอสุโขทัยธานี ขึ้นต่อจังหวัดสวรรคโลก[20][21] ภายหลังในปี พ.ศ. 2482 ภายใต้การปกครองของคณะราษฎร์ อันมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นปีที่รัฐบาล ประกาศใช้รัฐนิยมฉบับที่ 1 อันมีสาระเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย พร้อมประกาศจัดตั้งจังหวัดสุโขทัยอีกครั้ง ยกอำเภอสุโขทัยธานีเป็นศูนย์กลางของจังหวัด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมืองสุโขทัย[22]

นอกจากนี้บ้านสวนยังเป็นศูนย์กลางที่ทางหน่วยงานราชการให้ความสำคัญเขาไปจัดการศึกษาดังปรากฏหลักฐานว่า

"ด้วยได้รับบอกมณฑลพิศณุโลกที่ ๑๑/๖๘๗๐ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ศกนี้ว่า พลวงวรสารพิจิตร์ ผู้พิพากษาศาลเมืองสุโขทัยพร้อมด้วยเจ้าอธิการวัดบ้านสวน [คาดว่าจะเป็นหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เทโว] ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทย ชั้นมูลศึกษาขึ้นที่วัดบ้านสวน [คาดว่าจะเป็นโรงเรียนวัดฤทธิ์] โรง ๑ อาศรัยศาลาของวัดนั้นเปนที่เล่าเรียน และได้เปิดสอนนักเรียน เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๖ (พ.ศ. 2450) มีนักเรียน ๒๙ คน ได้จัดให้ พระโถ นักเรียนโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม ซึ่งสอบไล่ได้ประโยคหนึ่งเปนครูสอน ส่วนเงินสำหรับบำรุงโรงเรียนนี้ หลวงวรสารพิจิตร์ได้บอกบุญเรี่ยรายแก่ข้าราชการ และราษฏรได้เงินรวม ๓๑๒ บาท ๑๖ อัฐ สำหรับจ่ายในจำนวนศก ๑๒๖ ส่วนในศก ต่อ ๆ ไป จะได้คิดจัดการเรี่ยรายบำรุงต่อไป กับขอมอบโรงเรียนนี้ให้อยู่ในความตรวจตราของข้าหลวงธรรมการ ขุนประพันธ์เนติวุฒิ ข้าหลวงธรรมการ"[23]

จากข้อมูลนี้ยืนยันได้ว่า "บ้านสวน" เป็นหน่วยการปกครองที่ขึ้นอยู่กับสุโขทัย ทั้งเป็นพื้นที่ที่ภาครัฐ และราชการให้ความสำคัญเข้ามาจัดการศึกษาตั้งแต่อดีตและหลักฐานที่ปรากฏในสมัยการปฏิรูปการศึกษา ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ระหว่าง ร.ศ.126 หรือ พ.ศ. 2450 ด้วยเช่นกัน

ดังนั้นเมื่อดูในภาพรวมเกี่ยวกับพัฒนาการของตำบลบ้านสวนจึงผูกโยงอยู่กับการปกครองที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ "สุโขทัย-ศุโขไทย" มาแต่อดีต แปลว่าสุโขทัยถูกทำให้เป็นแขวง เมือง หรือจังหวัด ความเป็นบ้านสวนก็จะอยู่ในฐานะเป็นเป็นชุมชนที่อยู่ไกล้เมืองด้วยระยะห่างที่ไม่ไกลประมาณ 10 กิโลเมตร จึงถูกผนวกรวมตามเงื่อนไขของการปกครองในแต่ละช่วงเวลาตลอดมา

ในปัจจุบันตำบลบ้านสวนได้แบ่งการปกครองเป็น 13 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ 1 (บ้านป่า)
  • หมู่ 2 (บ้านสวนใต้)
  • หมู่ 3 (ตลาดบ้านสวน-วัดคุ้งยางใหญ่)
  • หมู่ 4 (บ้านไร่-วัดบึง-วัดฤทธิ์-บ้านบอน)
  • หมู่ 5 (บ้านคลองด่าน)
  • หมู่ 6 (คลองตะเคียน)
  • หมู่ 7 (หนองโครง)|
  • หมู่ 8 (บ้านไผ่ขวาง)
  • หมู่ 9 (บ้านสวนเหนือ/เหมืองใหญ่)
  • หมู่ 10 (คลองปลายนา)
  • หมู่ 11 (หนองทอง/วัดหนองทอง)
  • หมู่ 12 (บ้านวัดจันทร์)
  • หมู่ 13 (บ้านโปร่ง)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตำบลบ้านสวน (อำเภอเมืองสุโขทัย) http://www.bansuanpolice.com/ http://www.tambol.com/tambol/search.asp?key_search... http://www.thaitambon.com/tambon/ttambon.asp?ID=64... http://www.khothai.net http://gps.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2020/03/%E... http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/wmank.h... http://bansuansao.go.th/indexx.php http://www.bsm.go.th/webpage/mun01.htm http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/05... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/...